ผ้าหมักโคลน OTOP มุกดาหาร



ผ้าฝ้าย-ผ้าไหมเป็นภูมิปัญญาของชาวภูไท ที่สืบทอดกันมายาวนาน รวมไปถึงการย้อมสีผ้า โดยใช้สีที่มาจากพันธุ์พืช วัสดุต่าง ๆ ที่ให้สีตามธรรมชาติหลากหลายชนิด ซึ่งการ “หมักโคลนผ้า” ก่อนจะทำการย้อม ก็จะทำให้ผ้ามีคุณภาพคงทน สีไม่ตกและไม่ซีดจางง่ายๆ

<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>

พันธุ์ไม้ที่นำมาใช้ย้อมผ้าหาง่ายในท้องถิ่น และมีการปลูกทดแทน เพื่อที่จะได้มีวัตถุดิบใช้อย่างต่อเนื่อง และทางกลุ่มก็ยังได้มีการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลิตผ้าพื้นเมืองให้มีคุณภาพดี มีสีสม่ำเสมอ คงทนต่อแสง และใช้งานได้ยาวนาน โดยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยวิธี “หมักโคลน” ก่อนการย้อมสี...
ความเป็นมาของเทคนิคภูมิปัญญาชาวบ้านนี้ต่อไปว่า สมัยก่อนชาวบ้านไปหาปลาในหนองน้ำ แล้วใช้แหเพื่อดักจับปลา แต่แหถักใหม่มีสีขาว ทำให้ปลาว่ายหนีไปหมด ชาวบ้านจึงนำแหไปแช่ในโคลนเพื่อให้แหมีสีดำคล้ำ จึงได้ลองนำมาใช้เป็นเทคนิคในการทำผ้าหมักโคลนและย้อมต่อด้วยสีธรรมชาติ และก็ได้ผลดีเพราะหมักโคลนแล้วจะได้ผ้าที่มีสีสันแปลก เมื่อนำไปย้อมสีก็ทำให้ผ้ามีสีสันสดใส่มากขึ้น
เพราะโคลนช่วยจับสี ทำให้สีเข้มขึ้น อยู่ทนมากขึ้น

วัสดุอุปกรณ์ในการทำผ้าหมักโคลน มีดังนี้ เตาถ่าน, ปี๊บ, กะละมัง (สำหรับใช้ย้อมสี) นอกจากนั้นก็มีโอ่ง (ไว้ใส่โคลนเพื่อหมักผ้า), โคลน, สีธรรมชาติที่ได้จากพืชพันธุ์ในท้องถิ่น

“โคลนที่ใช้ในการหมักนั้น เราจะใช้โคลนที่หนองน้ำหนองสูงในหมู่บ้านที่มีอายุยาวนานประมาณ 300-400 ปี ซึ่งโคลนในท้องถิ่นอื่นก็น่าจะสามารถใช้ได้ แต่ควรใช้โคลนดินเหนียว และเนื้อโคลนต้องละเอียด ไม่มีเม็ดดินเม็ดทรายปะปน”

ส่วนขั้นตอนการทำผ้าหมักโคลนก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่จะมีหลายขั้นตอนเท่านั้น ต้องใช้ความอดทนในการทำ โดยการทำเริ่มจากนำโคลนขึ้นมากรองด้วยตะแกรง เพื่อคัดกรองเอาพวกเม็ดกรวดเม็ดดินออกให้เหลือแต่เนื ้อโคลนล้วน ๆ แล้วนำไปผสมน้ำและเกลือตามความเหมาะสม คนให้เข้ากัน

นำเส้นใยผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมลงไปแช่ในโคลนที่เตรียมไว้ โดยใช้เวลาในการหมักประมาณ 3-6 ชั่วโมง ซึ่งสีของเส้นใยจะอ่อนหรือเข้ม ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการหมัก

เมื่อหมักได้เวลาที่ต้องการ ก็นำขึ้นมาบิด จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง พอเส้นใยแห้งก็นำไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำกลับไปตากแด ดให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงจะนำไปทำการย้อมสีตามที่ต้องการ

การสกัดน้ำย้อมสีธรรมชาติสำหรับย้อมผ้านั้น จะใช้เปลือกไม้ไปแช่น้ำให้เปลือกไม้คลายสีออกมา แล้วนำไปต้มสกัดเอาน้ำสี จากนั้นก็ใส่เกลือ ทำการคนให้เข้ากันก็จะได้น้ำสีย้อม

นำเส้นใยที่หมักโคลนลงไปต้มย้อมจนสีติดเส้นใย จากนั้นก็นำเส้นใยไปทำการทอ หรือจะนำเส้นใยธรรมชาติอย่างผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมไปทำกา รทอให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงนำมาทำการหมักโคลน แล้วย้อมสีทีหลัง ก็ได้ โดยใช้วิธีการหมักย้อมเหมือนกัน

สำหรับเปลือกไม้ที่นำมาสกัดเป็นน้ำย้อมได้นั้น มีดังนี้คือ
1.เข (กาแล) ใช้เนื้อไม้ จะให้สีเหลืองทอง สีน้ำตาล และสีม่วง,
2.เพกา (ลิ้นฟ้า) ใช้เปลือกลำต้น แก่นและราก สีที่ได้คือเขียวอ่อน เขียวแก่ สีกากี,
3.มะม่วง ใช้เปลือกลำต้นและเนื้อไม้ ให้สีเขียว เขียวขี้ม้า,
4.ขนุน ใช้แก่น ให้สีเหลือง เหลืองอมน้ำตาล เหลืองอมเขียว,
5.ประดู่ ใช้เปลือกลำต้น ให้สีชมพูอมแดง หรือสีแดงอมน้ำตาล,
6.ไข่นุ่น ใช้เนื้อไม้ ให้สีน้ำตาล,
7.ครั่ง ให้สีแดงและม่วง...

ผ้าฝ้ายหมักโคลนย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทอผ้าดั้งเดิมนั้นมีหลากหลายลาย ได้แก่ ลายปลาตะเพียน ลายแย้ง ลายส่องดาว ลายไทยดั้งเดิม

หากสนใจติดต่อที่คุณ นรินทิพย์ สิงหะตา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าดั้งเดิม หมู่ที่ 2 ต.หนองสูงเหนือ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

ที่มา. เกษตรจังหวัดมุกดาหาร
SHARE

OTOP Mukdahan

sale-otop-mukdahan.blogspot.com ยินดีต้อนรับ รวบรวมข้อมูลสินค้า OTOP ในจังหวัดมุกดาหาร ทั้งในระดับ 5 ดาว 4 ดาว 3 ดาว สินค้าพื้นบ้าน หัตถกรรม ฯลฯ ไว้ที่นี่

  • Image
  • Image
  • Image
  • Image
  • Image
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น